เลี้ยงมดกันเถอะ | พุงนิ่ม ชวนเลี้ยงมด


เลี้ยงมดกันเถอะ | พุงนิ่ม ชวนเลี้ยงมด

สนใจดู YouTube >> https://youtu.be/mDY-YHENyGM





นางพญามดตะลาน ไข่มด และ ลูกๆ

มด สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋ว (บางที่ไม่จิ๋วนะ ตัว 2-3 CM ก็มี) ที่มีอยู่ทั่วโลก มีพฤติกรรมอยู่เป็นสังคมชนชั้น มีวรรณนะ หลักๆอยู่ 3 วรรณนะ คือ วรรณนะสืบพันธ์ (นางพญา, มดตัวผู้) มดทหาร และ มดงาน
*แล้วแต่ชนิด บางชนิดมีแค่มดงานกับมดสืบพันธ์

ตอนเด็กๆ เจอรังมดแล้วอยากเอาน้ำราด

ที่ผมอยากมาลองเลี้ยงมดดู คือ ตอนเด็กๆ เคยหรือเปล่า นั่งดูรังมดตามพื้นดิน เห็นมดเข้าออก หรือลองให้อาหารมดดู ไม่ก็เริ่มแกล้งมด เช่น เอาน้ำราด เอาดินอุด กาวยัดรู หรือที่เคยเห็นในอินเตอร์เน็ต เช่นการเอาโลหะหลอมเหลว เทไปในรังมด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับรังมด

คลิปเกี่ยวกับการใช้ อลูมิเนียม เทลงไปในรังมด

เท อลูมิเนียมหลอมเหลว ลงไปในรังมด

รูปร่างอลูมิเนียม ที่หล่อจากรังมด


แต่อย่างหนึ่งที่ผมอยากเห็นคือ นางพญามด และในรังมด มดทำอะไรกัน นี่ล่ะ ก็เลยตัดสินใจศึกษาดู ว่ามีอะไรบ้างที่เราต้องรู้ ถ้าอยากเลี้ยงมด


ขอขอบคุณ เพจ คนเลี้ยงมด และ กลุ่มคนเลี้ยงมดมากนะครับ สำหรับข้อมูลต่างๆ
คนเลี้ยงมด : Ant Keeping Thailand << กดได้เลยจ้า



เริ่มต้นด้วย เราควรจะเลี้ยงมดอะไรก่อนดี น่าจะเป็นคำถามแรกๆสำหรับทุกคน
ส่วนตัวผมแนะนำว่า เราควรจะเลี้ยงมดที่

หาง่าย

  • มดที่หาง่าย หมายถึง มดที่อยู่ในระแวกบ้านเรานี่ล่ะ มดแดง มดดำทุง มดตะลาน มดกระโดด มดง่าม ที่อยู่ในไทย อยู่ใกล้บ้าน เพราะเวลาเราออกตามหา ก็ต้องรอฝนตกบ้าน ช่วงกลางคืนบ้าง 
  • มดต่างถิ่นที่อยู่ต่างจังหวัด ต่างประเทศ อาจจะทำให้ลำบากในการหา การรักษา(เพื่อกลับมาเลี้ยง) และ ต้องทำลายทิ้งด้วยเมื่อเราไม่เลี้ยงแล้ว (มดในท้องถิ่น เลิกเลี้ยงก็ไปปล่อยได้เลย)
  • กรณี ซื้อขาย มด ก็ได้ แต่ก็ราคาพอสมควรล่ะนะ (ก็ให้เขาไปจับไปเลี้ยงจนเป็นรังนินา)
โคมไฟหน้าบ้าน ก็มีนางพญามดมาเล่นไฟนะ
หาได้ง่ายๆ ที่ 7-11 ทุกสาขา (เรื่องจริงนะ)
นางพญา หลังป้ายโฆษณา หน้าร้าน 7-11
เจอในห้องน้ำปั้ม (จุดดำๆ ซ้ายบนน่ะ)
เจอตามพื้น ใต้แสงไฟ (มดคันไฟ)


เลี้ยงง่าย

  • มดที่ไม่เรื่องมาก เลี้ยงง่าย กินง่าย อากาศยังไงก็ได้ อดทน สบายเลยเรา
  • มดที่ ไม่ต้องการสร้างรังมากนัก (ไม่ต้องใช้ใบไม้ ไม่ต้องใช้ดิน มาสร้างรัง) เพราะเราจะมองไม่เห็นว่ามดทำอะไรกัน (ส่วนตัวชอบเลี้ยงแบบ ดูพฤติกรรมมด) 
  • ไม่อันตราย
มดไทย ส่วนใหญ่ก็เลี้ยงง่าย อยู่แล้ว รังก็ยังไงก็ได้ ขอให้มีความชื้น ไม่ร้อน แล้วก็มืดๆ หน่อยนึง


ตัวใหญ่

  • มดตัวใหญ่ เราจะได้เห็นว่ามันทำอะไรกันบ้าง ถ้าเลี้ยงตัวเล็กๆมันมองไม่เห็นอะไรเลย
  • มดตัวใหญ่ การเติบโตของรังจะช้ากว่ามดตัวเล็ก (ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป)
  • มดตัวใหญ่ เราเห็นตั้งแต่ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ตัวเต็มวัย ยัน ตายเลย

หลอดมีขนาดเท่ากัน (ซ้าย มดตะลาน || ขวา มดคันไฟ)

ผมก็ขอแนะนำให้เลี้ยงมดชนิดนี้ล่ะกันนะครับ
มดตะลาน
ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือมีครบ 3 ข้อเลย หาง่าย เลี้ยงง่าย ตัวใหญ่
ที่ผมเจอ ก็ที่ 7-11 (ไม่หารอบๆร้าน หลังฝนตกนะ)
เลี้ยงง่ายอยูแล้ว เพราะเป็นมดไทยๆนี่ล่ะ ให้อะไรไปก็กิน
ตัวก็ใหญ่ เห็นชัดดีด้วย
ที่จริงมดพวกนี้ฉลาดนะ เวลาผมไปบ้านแฟน มีเศษอาหารหล่น มันไม่ออกมากินนะ มันจะรอจนมืด แล้วย่องออกมากิน เห็นหลายรอบล่ะ
ออกมาข้างนอกตอนกลางคืน แล้วเปิดไฟ ต้องเจอพวกนี้มาแอบกินเศษอาหาร
มดตะลาน สายพันธ์ุต่างๆ

กลุ่มมดไม่แนะนำให้เลี้ยงเท่าไหร่ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)
มดต่างถิ่น

  • พวกมดที่มาจากต่างประเทศ มดที่ไม่มีในประเทศไทย เป็นอะไรไม่ค่อยแนะนำให้เลี้ยง เพราะถ้าหลุดจากรัง หรือเราปล่อยออกมา มันจะเป็น เอเลี่ยนสปีชีส์ และทำให้ระบบนิเวศบ้านเรามีปัญหาด้วย
  • มันหายาก ขนส่งยาก ผิดกฎหมาย แล้วก็ราคาสูงด้วย 
มดน้ำผึ้ง (ต่างประเทศ)
มดมีพิษ


  • ในบ้านเราก็จะมีดังๆ คือ มดตะนอย นี่ล่ะ ส่วนมดอื่นๆบ้านเราก็มดคันไฟ ต่างๆ
  • ในต่างประเทศ มดที่กัด (ต่อย) เจ็บที่สุดในโลก มดกระสุน 
  • พวกนี้ถ้าเราพลาดไปโดน หรือคนในบ้านพลาด คงไม่สนุกแน่ๆล่ะ
มดตะนอย
มดกระสุน
มดเลี้ยงยาก

  • ในที่นี้รวมถึงมดที่ทำรัง ที่ไม่เหมาะกับการเลี้ยงดู เช่น มดแดงที่ทำรังอยู่บนต้นไม้ ซึ่งเอาต้นไม้มาเป็นรังให้มดแดงคงไม่สะดวก หรือมดที่ต้องการดินมาทำรังมากๆ (เอาดินปิดรัง เราก็ไม่เห็นอะไรเลย
  • มดที่ต้องจำศีล เราต้องเอาไปเข้าตู้เย็นอีก
  • มดบางชนิด ที่กินอาหารได้เฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น มดตัดใบไม้ (กินเชื้อราได้เท่านั้น)

มดตัดใบไม้ เป็นมดที่นำใบไม้ ไปเลี้ยงเชื้อรา แล้วกินเชื้อราอีกทีนึง (มดกินเชื้อราได้แค่ชนิดเดียว)

ก่อนที่เราจะเริ่มเลี้ยงมด เราควรจะรู้ก่อนว่า นางพญามด มี2แบบ ซึ่งวิธีเลี้ยงต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ

Fully Claustral และ Semi Claustral

Fully Claustral คือนางพญาที่มีอาหารตุนไว้ พอบินออกมาผสมพันธุ์แล้วก็จะไปทำรัง ขังตัวเอง ไม่ต้องกินอะไรเลยจนมีมดงานออกมาชุดแล้วค่อยเริ่มกิน (ให้มดงานไปหาอาหารมาให้กิน) สังเกตุง่ายๆ คือก้นมักจะใหญ่

Semi Claustral คือนางพญาที่ไม่มีอาหารตุนไว้ พอทำรัง ก็ต้องหาอาหารไป เลี้ยงตัวอ่อนไป พวกนี้เราต้องให้อาหารมันกินด้วย เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดได้ เวลาเลี้ยง อาจต้องมี Out World เพื่อให้อาหารด้วย สังเกตุง่ายๆ คือก้นมักจะเล็ก (ระวังสับสนกับมดงาน)

ส่วนใหญ่ดูก้น ก้นใหญ่มักเป็น Fully Claustral
รังมดเริ่มต้น สำหรับ Semi Claustral มีพื้นที่เป็นรัง และมี Out World ให้หาอาหารด้านนอก

* เพิ่มเติม ความคิดเห็นส่วนตัว คือ ผมคิดว่า เราควรให้อาหารมดนางพญาทุกตัวนะ เพราะว่าบางครั้งไม่รู้ว่าเป็นมด Semi Claustral ก็เลยไม่ให้อาหาร นอกจากนั้น มีคนทดลองแล้วว่า มดนางพญาที่ให้อาหาร จะมีไข่เยอะกว่า และใหญ่กว่า อัตรารอดชีวิตสูงกว่า 
ให้น้ำแดงมดกิน ให้ไปเถอะ อย่าไปเสียดายเลย

ต่อมาก็เรื่องการหามดซึ่งเป็นปันหาอันดับแรกๆเลยของการเลี้ยงมดเลย เพราะว่าหาไม่เจอ (ตอนไม่เลี้ยงนี่บินมาเกาะหน้าเลย อีมด)

หลังการง่ายๆที่จะช่วงหามด (ทั่วไป) ได้ก็คือ
หลังฝนตก เพราะว่ามดส่วนใหญ่จะทำรังในดิน การที่มีฝนตก ข่วยให้ดินนุ่ม ทำรัวได้ง่ายขึ้น
กลางคืน เป็นการหลีกเลี่ยงสัตว์ใหญ่ นก และพรางตัวไปด้วย นอกจากนั้น กลางคืนอากาศเย็นกว่า
หลอดไฟที่เปิดสว่าง เป็นจุดศูนย์รวมของมด มาผสมพันธุ์กันนั้นเอง
หลังฝนตกหนักๆ (น้ำไม่ท่วมนะ) ก็จะมีแมลงมาเล่นไฟ ก็ทั้งมดทั้งปลวก น่ะ
ตรงไหนไม่เจอแมลง เพราะอาจมีคน(หรือตัว)จองที่แล้ว
7-11 มีทุกอย่าง กระทั้ง มดนางพญา (พูดจริง)
บน นางพญา ล่าง มดตัวผู้ (อย่าจับผิดล่ะ)
ซ้าย มดนางพญา ขวา มดตัวผู้ 2 ตัว
ให้อาหารมด ด้วยน้ำแดง Hale's Blue Boy
Blogger *ยังไม่ได้ทำ*

หลังจากได้มดมาแล้ว ก็จะมีเรื่อง อาหารมด ที่เราต้องรู้นั่นเองจ้า

โปรตีน มดต้องการโปรตีนอยู่แล้ว ถ้าในธรรมชาติ ก็คงเป็น หนอน ไส้เดือน แมลง หรือเราจะใข้พวกแมลงอบแห้งก็ได้ ตามสะดวก อาหารปลา อาหารเม็ด หรืออาหารของคนนี่ล่ะ เศษไก่ เศษปลา ให้ได้หมด แต่อย่าให้เยอะนะ เดียวมดเอาไปเก็บที่รัง แล้วจะเน่า ตายกันหมด

คาร์โบไฮเดรด นอกจากโปรตีนที่มดต้องการแล้วก็มี คาร์โบไฮเดรต นี่ล่ะ ที่ต้องให้มดกินด้วย ก็ได้หมด ผลไม้ ข้าวสุก ก็ได้ แต่ที่แนะนำคือ น้ำแดง นี่ล่ะ ผสมน้ำแล้ววางไว้ให้มดกิน (สำหรับรังเริ่มต้น ไม่ต้องผสมน้ำให้นะ)

น้ำสะอาด ถึงจะให้น้ำแดงแล้ว ก็ต้องมีน้ำสะอาดให้กิน แล้วให้ชื้นด้วยนะ

กินอาหารทั่วไปที่หาได้ตามธรรมชาติ หรือของกินเหลือๆก็ได้นะ

* เคยเห็นคนเลี้ยงมดแดง เอาไข่มดแดงไปขาย เขาเลี้ยงโดยให้ ข้าวคลุกปลาทู มดแดงกิน ก็ครบเลย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต อื่นๆ ก็สะดวกนี่นะ
ข้าวคลุกปลาทู ให้มดแดงกิน ก็สะดวกดีนะ (ถ้ารังใหญ่ หลายรัง ก็ให้เยอะๆได้)

สำหรับ สถานที่ที่มดอยู่ หรือ รังมดที่ใช้เลี้ยง ส่วนใหญ่ก็ทำเองเป็นหลักล่ะ (ซื้อก็ได้นะ)

หลอดทดลอง
เป็นแบบที่ง่ายที่สุด และเป็นรังเริ่มต้นให้มดเกือบทุกชนิดเลย วิธีก็ใส่น้ำไปสัก 1/3 หรือ 1/2 ของหลอดตามสะดวก แล้วก็ยัดสำลีกันน้ำท่วม ช่องว่างที่เหลือ ก็จะเป็นที่เลี้ยงมด + ให้อาหาร แล้วเอาสำลีอุดอีกทีกันมดหนีออกไป (สำลีสามารถถ่ายเทอากาศได้)
ใส่น้ำเยอะหน่อย จะได้อยู่ได้นาน

หลอดทดลอง + out World
เป็นแบบต่อมาของมดที่เลี้ยงมาจากหลอดทดลอง เพื่อขยายพื้นที่ให้มดอยู่ได้สบายมากขึ้น และใช้สำหรับมดกลุ่ม Semi Claustral ด้วย
แบบเอาหลอดทดลอง ลงไปอยู่ใน OutWorld  (รูปจากในกลุ่ม คนเลี้ยงมด หาไม่เจอว่าคนทำไว้ ขออภัยนะครับ)
รังมดจากปูนพลาสเตอร์ หรือ ปูนอื่นๆ (ยาแนวก็ได้)
ส่วนใหญ่ใช้ดินน้ำมัน ปั้นเป็นรูปรัง แล้วเทปูนลงไป ในแบบพิม เมื่อปูนแข็ง ก็แกะดินน้ำมันทิ้งไป ก็จะได้ รังมดมานั่นเอง จะทำใส่ถ้วย หรือเป็นตู้กระจกก็ได้หมด
รังมดจากปูน แบบแบน (รูปจากในกลุ่ม คนเลี้ยงมด หาไม่เจอว่าคนทำไว้ ขออภัยนะครับ)


ใครสนใจทำรังมด ปูนพลาสเตอร์ ในถ้วย กดได้ที่นี่เลยครับ
Blogger >> *กำลังทำ*

อิฐมวลเบา
คล้ายๆ แบบเมื่อกี้ แต่ต่างกันที่ ไม่ต้องทำแบบขึ้น เพราะเราต้องเจาะเป็นรูแทน (เหมือนวาดรูป) ให้เป็นรังมดที่ต้องการ แต่ทำยากหน่อย ต้องมีหัวสว่างกัดปูนออกอีกทีนึง แล้วอย่าลืม เอากระจก หรือ อะคริลิคใส ปิดอีกทีนะ

อิฐมวลเบา เจาะรู เป็นรัง (รูปจากคุณ Joe Rinkaewkan)

รังดิน
ใส่ดินลงไปในที่เลี้ยง จะใส่ถ้วย หรือ ใส่ตู้กระจกก็ได้ ตามสะดวกเลย เพราะจะให้มดขุดดินเอง
ปล. ส่วนใหญ่เรามักจะไม่เห็นอะไรเลย นอกจากทำตู้แคบๆ ถึงจะเห็นมด
ทำรังใส่ดินแคบๆ เราก็จะเห็นมดขุดดินด้วย

ป่า
ทำเหมือนเราเลี้ยงแบบธรรมชาติเลย ปลูกต้นไม้ ให้ขุดดินเอง จำลองระบบไปเลย (แต่ต้องให้อาหารด้วยนะ)
รูปตู้เลี้ยงมด จากคุณ ศรัณย์ภัทร อมรรตัยกุล
สำหรับรังมดสำเร็จรูป ที่มีอะคริลิคทั้งมด เห็นมดก็สะดวกดี ใครชอบสวยๆ ก็ลองไปหามาดูได้
แต่รังมด ที่เป็นเจลให้มดขุดเอง ผมไม่รู้ว่าเจลจะทำให้มดมีปัญหาเรื่องเปล่านะครับ แต่เท่าที่รู้มา ถ้าซื้อรังมดแบบเจลมา จะมีมดแถมมาให้ด้วย แต่เป็นมดต่างประเทศ
ยังไงถ้าเลิกเลี้ยง รบกวนทำลายทิ้งด้วยนะครับ
รังมดอะคริลิค สวยๆ 
รังมดแบบเจล (ที่จริงเอาเจลออก แล้วใส่ดินใส่ทรายแทน น่าจะสวย)
หลังจากเลี้ยงมดได้แล้ว อย่างนึงที่ต้องระวังเลยคือ มดหนี เพราะมดมันพยายามหาทางได้ตลอดเวลาเลยล่ะ
การป้องกันมดหนี
น้ำมันมะกอก 
ทาที่ขอบภาชนะ แล้วต้องทาทุก 2 สัปดาห์ ด้วย กันแห้ง (แต่ไม่ค่อยเห็นคนใช้เท่าไหร่)
น้ำมันมะกอกแบบดีๆหน่อย (แต่แพง)

แป้ง+แอลกอฮอล์
เอาแป้งเด็ก ผสมแอลกอฮอล์ ทาที่ขอบภาชนะ แอลกอฮอล์จะแห้งเร็ว แล้วทำให้แป้งติดที่ขอบตู้ได้นาน เห็นคนทำเยอะเหมือนกัน
ขโมยของคนที่บ้านนี่ล่ะ ดีสุดๆล่ะ

วาสลีน
ทาที่ขอบภาชนะ อยู่ได้เป็นเดือน ส่วนตัวมองว่า ทาที่ชั้นบนสุด เป็นที่ป้องกันมดออกจากรังด้วย
คิดว่าน่าจะมีเกือบทุกบ้านนะ

น้ำ หรือ แผ่นรองกันมด
วางรังมด ไว้บนน้ำ วัสดุที่มีน้ำขัง หรือแผ่นรองกันมด
ก็แค่รองน้ำธรรมมดา ถ้ามดหลุดออกมา ก็ไปต่อไม่ได้เท่านั้นเอง
AntPad Ceramic แผ่นรองกันมดขึ้น (น่าจะกันมดลงได้ด้วยนะ


=============================
แนะนำ ติชม ได้ในคอมเม้นจ้า
 =============================
รบกวนกด Like & Subscribe ด้วยนะครับ
Youtube >>> https://goo.gl/GnbgKJ
Fanpage >>> https://facebook.com/phungnim.panwasit
 =============================
ขอบคุณมากครับ
=============================
คลิกด้านล่าง เพื่อไปเรื่องที่ใกล้เคียงกันได้เลยจ้า

ความคิดเห็น